Phonake2504's Blog

Posts Tagged ‘วิจัยในชั้นเรียน

เห็นสถิติเรื่องวิจัยในชั้นเรียนมีผู้สนใจเขาชมจำนวนมาก จึงพยายามนำวิจัยในชั้นเรียนมานำเสนออีกหลายๆกลุ่มสาระ เพื่อเป็นแนวทางในการทำวิจัย ในวันี้จึงขอเสนอวิจัยอีกหนึ่งกลุ่มสาระ

  วิจัยในชั้นเรียน

เรื่อง       การติดตามดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อพัฒนาความสนใจและผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน

              ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1

ผู้วิจัย     นายพลเอก     สว่างแจ้ง                     

สภาพปัญหา

                จากการสอนวิชา วาดเส้นแสงเงา   ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1  ประจำปีการศึกษา  2546 ในการเรียนการสอนที่ผ่านมา    มีนักเรียนที่สนใจเลือกเรียนวิชา  วาดเส้นแสงเงา     จำนวน   3    ห้องเรียน มีนักเรียน  150  คน จากการสังเกตและตรวจผลงานของนักเรียนในภาคเรียนที่  1   ผู้วิจัยพบประเด็นสำคัญที่เป็นปัญหา คือ มีนักเรียน  5  คน ในจำนวน 150   คน  ไม่ส่งชิ้นงานจึงส่งผลให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำในภาคเรียนที่  1     ผู้วิจัยได้สังเกตและตรวจสอบคะแนนรายจุด  พบว่า  นักเรียนขาดความสนใจ ไม่เอาใจใส่ขณะปฏิบัติงาน     และไม่ส่งชิ้นงานที่ครูสั่งตามจุดประสงค์การเรียนรู้ของวิชา  วาดเส้นแสงเงา  ดังนี้

ตารางที่  1  แสดงการส่งชิ้นงานตามจุดประสงค์  10  ชิ้นงาน  ของภาคเรียนที่  1  พ.ค. ถึง   ก.ย.  2546

                               ชิ้นงาน

            ชื่อ

 

1

 

2

 

3

 

4

 

5

 

6

 

7

 

8

 

9

 

10

 

รวม

ร้อยละ

เด็กชาย ก

/

/

/

 

 

 

 

 

 

 

3

30

เด็กชาย ข

/

/

 

 

 

 

 

 

 

 

2

20

เด็กชาย ค

/

/

/

 

 

 

 

 

 

 

3

30

เด็กชาย ง

/

/

/

 

 

 

 

 

 

 

3

30

เด็กชาย จ

/

/

 

 

 

 

 

 

 

 

2

20

                ในภาคเรียนที่  2  มีการเรียนการสอนวิชา วาดเส้นแสงเงา  ต่อจากภาคเรียนที่  1  จากการสังเกตของผู้วิจัย พบว่า นักเรียน  5  คนเดิม  ยังมีพฤติกรรมไม่สนใจและไม่ส่งชิ้นงานเหมือนภาคเรียนที่  1  ดังนี้

ตารางที่  2  แสดงการส่งชิ้นงานตามจุดประสงค์  3  ชิ้นงานใน 10 ชิ้น ของภาคเรียนที่  2  เดือนพฤศจิกายน   2546

                               ชิ้นงาน

            ชื่อ

 

1

 

2

 

3

 

4

 

5

 

6

 

7

 

8

 

9

 

10

 

รวม

ร้อยละ

เด็กชาย ก

 

 

 

 

 

 

 

0

0

เด็กชาย ข

 

 

 

 

 

 

 

0

0

เด็กชาย ค

 

 

 

 

 

 

 

0

0

เด็กชาย ง

 

 

 

 

 

 

 

0

0

เด็กชาย จ

 

 

 

 

 

 

 

0

0

                จากข้อมูลในตารางที่  2  ผู้วิจัยมีความคาดหวังว่านักเรียนทั้ง  5  คน  แนวโน้มน่าจะมีปัญหา  เพราะนักเรียนไม่ให้ความสนใจการเรียนและไม่ส่งชิ้นงาน     อาจทำให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ  และไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินรายวิชา วาดเส้นแสงเงา ปลายปีการศึกษาได้

ปัญหาการวิจัย     ทำอย่างไรจะช่วยให้นักเรียน  5  คน  สนใจการเรียน และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น

เป้าหมายการวิจัย  เพื่อพัฒนาความสนใจและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน  ด้วยเทคนิคการติดตามดูแลอย่างใกล้ชิด

วิธีการวิจัย           

1. กลุ่มเป้าหมาย นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2546 จำนวน 5 คน

2. วิธีการ

       2.1 ประชุมนักเรียนทั้ง 5 คน เพื่อชี้แจงและตกลงร่วมกันถึงหลักการปฏิบัติงาน และทำข้อตกลงในการส่งชิ้นงาน ภายในเดือนธันวาคม 2546

       2.2 ต้นเดือนมกราคม 2547 ประชุมนักเรียนทั้ง 5 คน เพื่อตักเตือนด้วยวาจา ถึงการไม่ส่งชิ้นงานตามข้อตกลงภายในเดือนธันวาคม 2546 ที่ผ่านมา

       2.3 สัปดาห์แรกของเดือนกุมภาพันธ์ 2547 ผู้วิจัยให้แรงเสริมทางลบ ด้วยการทำกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคมด้วยการทำความสะอาดห้องเรียน ผู้วิจัยเน้นย้ำถึงข้อตกลงอีกครั้ง

       2.4 สัปดาห์ที่สองของเดือนกุมภาพันธ์ 2547 ผู้วิจัยให้การเสริมแรงทางบวกด้วยการชมเชยและให้การเสริมแรงทางลบสำหรับนักเรียนไม่ส่งชิ้นงาน ด้วยการทำกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์โดยการรดน้ำต้นไม้หน้าอาคารเรียน และจัดหาที่เฉพาะให้แก่นักเรียนที่ปฏิบัติงานไม่เสร็จและไม่ส่งชิ้นงาน โดยผู้วิจัยดูแลการปฏิบัติงานอย่างใกล้ชิด

       2.5 สัปดาห์ที่สามของเดือนกุมภาพันธ์ 2547 ผู้วิจัยให้ ผู้วิจัยให้การเสริมแรงทางบวกด้วยการชมเชยและให้การเสริมแรงทางลบสำหรับนักเรียนไม่ส่งชิ้นงาน ด้วยการทำกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์โดยการทำความสะอาดหน้าอาคารเรียน  และจัดหาที่เฉพาะให้แก่นักเรียนที่ปฏิบัติงานไม่เสร็จและไม่ส่งชิ้นงาน  โดยผู้วิจัยดูแลการปฏิบัติงานอย่างใกล้ชิด  และลงคะแนนแต่ละชิ้นงานในสมุด  ปพ.5  ให้นักเรียนทั้ง  5  คน  ได้เห็นและตระหนักถึงความรับผิดชอบในการส่งชิ้นงาน ซึ่งนักเรียนจะมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้น

3. วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล

     3.1 การสัมภาษณ์นักเรียนทั้ง 5 คน เพื่อนที่สนิทของนักเรียนทั้ง 5 คน ผู้ปกครองของนักเรียน และครู-อาจารย์ผู้สอนในแต่ละรายวิชา นักเรียนทั้ง 5 คน ในบางรายวิชาส่งชิ้นงานครบ บางรายวิชาส่งชิ้นงานไม่ครบ

     3.2 บันทึกผลการสังเกตการปฏิบัติงานในขณะเรียน

     3.3 บันทึกผลคะแนนเป็นรายชิ้นงาน

4. วิธีวิเคราะห์ข้อมูล

     ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการพิจารณาข้อมูลต่างๆที่ได้จากการสัมภาษณ์นักเรียนทั้ง  5  คน  เพื่อนนักเรียน  ผู้ปกครอง  และครู-อาจารย์ที่สอนนักเรียนทั้ง  5  คน  นำข้อมูลที่ได้มาประมวลภาพรวมแล้ววิเคราะห์ สรุป รวมทั้งการสังเกตพฤติกรรมการปฏิบัติงานของนักเรียนในขณะเรียน และดูบันทึกผลคะแนนเป็นรายชิ้นงาน     มาเปรียบเทียบกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในภาคเรียนที่  1  พบว่า

                                ภาคเรียนที่  1  ผู้วิจัยไม่ได้ใช้เทคนิคการติดตามดูแลนักเรียนอย่างใกล้ชิด นักเรียนจึงมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน    โดยดูจากตารางที่  1    ดังนี้

เด็กชาย  ก     มีความสนใจและหรือมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ร้อยละ             30

เด็กชาย  ข     มีความสนใจและหรือมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ร้อยละ             20

เด็กชาย  ค     มีความสนใจและหรือมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ร้อยละ             30

เด็กชาย  ง      มีความสนใจและหรือมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ร้อยละ             30

เด็กชาย  จ     มีความสนใจและหรือมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ร้อยละ              20

                                ภาคเรียนที่  2  ผู้วิจัยใช้เทคนิคการติดตามดูแลนักเรียนอย่างใกล้ชิด แล้วนักเรียนจะมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้นหรือไม่  จดบันทึกข้อมูลไว้เพื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบกับภารเรียนที่  1  ของนักเรียนทั้ง  5  คน   

5. ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

     จากการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ปรากฏผลผลดังนี้

การวิจัยเรื่อง  การติดตามดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อพัฒนาความสนใจและผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1  วิชา  วาดเส้นแสงเงา  ปรากฏผล  การติดตามดูแลนักเรียนอย่างใกล้ชิด  ของนักเรียน  5  คน  มีผลดังนี้

ตารางที่  3  แสดงการส่งชิ้นงานตามจุดประสงค์  10  ชิ้นงาน ของภาคเรียนที่  2  เดือน ธ.ค. 46 ถึง ก.พ.  2547

                               ชิ้นงาน

            ชื่อ

 

1

 

2

 

3

 

4

 

5

 

6

 

7

 

8

 

9

 

10

 

รวม

ร้อยละ

เด็กชาย ก

/

/

/

/

/

/

/

/

/

/

10

100

เด็กชาย ข

/

/

/

/

/

/

/

/

/

/

10

100

เด็กชาย ค

/

/

/

/

/

/

/

/

/

/

10

100

เด็กชาย ง

/

/

/

/

/

/

/

/

/

9

90

เด็กชาย จ

/

/

/

/

/

/

/

/

8

80

เมื่อพิจารณาวิเคราะห์ข้อมูลจากตารางที่  3  การพัฒนาความสนใจของนักเรียนโดยการใช้เทคนิคการติดตามดูแลนักเรียนอย่างใกล้ชิดแล้ว  พบว่า  นักเรียนทั้ง  5  คน  ได้มีการพัฒนาความสนใจและผลสัมฤทธิ์ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด   ดังนี้

เด็กชาย  ก    มีความสนใจและหรือมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ร้อยละ             100

เด็กชาย  ข    มีความสนใจและหรือมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ร้อยละ             100

เด็กชาย  ค    มีความสนใจและหรือมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ร้อยละ             100

เด็กชาย  ง     มีความสนใจและหรือมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ร้อยละ               90

เด็กชาย  จ    มีความสนใจและหรือมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ร้อยละ               80

ข้อเสนอแนะ

1. เทคนิคการติดตามดูแลนักเรียนอย่างใกล้ชิด จะใช้ได้ผลก็ต่อเมื่อครูผู้สอนได้ลงมือปฏิบัติจริง ต้องมีการบันทึกข้อมูลต่างๆให้เป็นปัจจุบัน มีใจรัก อดทน ทุ่มเทแรงกายแรงใจในการติดตามดูแลนักเรียนอย่างใกล้ชิด

2. นักเรียนบางกลุ่มใช้แรงเสริมทางบวกแล้วไม่ได้ผล บางกลุ่มใช้แรงเสริมทางลบแล้วไม่ได้ผล และบางกลุ่มต้องใช้แรงเสริมทั้งทางบวกและทางลบควบคู่กันไปจึงจะได้ผล บางกลุ่มอาจใช้แรงจูงใจทั้งทางบวกและทางลบไม่ได้ผล ขึ้นอยู่กับครูผู้ทำวิจัยจะต้องวิเคราะห์ตัวนักเรียนและสภาพแวดล้อมกลุ่มที่มีปัญหาว่าจะใช้วิธีการใดที่กล่าวมา เพื่อแก้ปัญหา

ภาคผนวก  ผังการดำเนินงาน

เรื่อง การติดตามดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อพัฒนาความสนใจ

และผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1  

ขั้นตอนที่ 1

สร้างข้อตกลงร่วมกัน

– สร้างข้อตกลงร่วมกัน   เฉพาะนักเรียนที่มีปัญหา

 

 

 ผล = นักเรียนเสนอข้อตกลง            และได้ข้อตกลงร่วมกัน

ขั้นตอนที่ 2

ตักเตือน

– ตักเตือนด้วยวาจา   เฉพาะนักเรียนที่มีปัญหา

 

 

ผล = นักเรียนรับรู้รับฝัง

ขั้นตอนที่ 3

เสริมแรงทางบวกและทางลบ

– เสริมแรงทางบวกด้วยการชมเชยเฉพาะนักเรียนส่งงาน

 

 

ผล = นักเรียนมีความพึงพอใจ

ขั้นตอนที่ 4

เสริมแรงทางบวก เสริมแรงทางลบ และจัดหาที่เฉพาะให้ปฏิบัติกิจกรรม

– เสริมแรงทางลบด้วยการให้ทำกิจกรรมเฉพาะนักเรียนไม่ส่งงานผล = นักเรียนมีความพึงพอใจ

 

 

– จัดหาที่เฉพาะให้นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมและให้การดูแลอย่างใกล้ชิด

ขั้นตอนที่ 5

เปรียบเทียบความสนใจ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

ภาคเรียนที่ 1 กับภาคเรียนที่ 2

ผล = นักเรียนปฏิบัติงานได้ชิ้นงานครบตามจุดประสงค์ การเรียนรู้

 

                                                   ไม่ได้ผล      

                                 ย้อนกลับตรวจสอบตามขั้นตอน 1-5 ใหม่

วิจัยในชั้นเรียน

ใน Post นี้จะขอพูดถึงเรื่องการวิจัยในชั้นเรียนต่อจาก Post ที่แล้ว การทำวิจัยในชั้นเรียนจะทำโดยครูคนเดียวก็ได้หรือหลายๆคนรวมกันและเรื่องเดียวกันก็ได้ แต่มีจุดมุ่งหมายคล้ายคลึงกัน คือ

1. เป็นการสะท้อนผลการปฏิบัติของครูผู้ทำวิจัย

2. เป็นการพัฒนาความก้าวหน้าในภาระงานสอน ของครูผู้สอน

3. เป็นการสร้างวัฒนธรรมความเป็นมืออาชีพให้เกิดขึ้นในวิชาชีพครู

มีผู้ถามว่า.. ทำไมต้องทำวิจัยในชั้นเรียนมาใช้ในการเรียนการสอน.. ขอตอบแบบวิชาการคือ ในความเป็นจริงกระบวนการวิจัยย่อมเป็นวิธีที่น่าเชื่อถือได้ มากกว่าวิธีอื่นๆ จะเป็นวิจัยในชั้นเรียน (แผ่นเดียว) หรือการทำวิจัยในชั้นเรียน (5 แผ่น) หรือการทำวิจัยในชั้นเรียน ( 5 บท) ก็ได้ ซึ่งสอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ปี พ.ศ. 2542 หมวด 4 มาตรา 24 (5) กล่าวว่า ” ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สอนจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม สื่อการสอน และอำนวยความสะดวก เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ และมีความรอบรู้รวมทั้งสามารถใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ ”  ผมขอนำรูปแบบที่ครูลัดดา สายพานทอง (ครูผู้มีความรู้ความสามารถด้านการวิจัยคนหนึ่ง ผมมีความเชื่ออย่างนั้นครับ) กรุณาเขียนให้ผมนำมา Post แสดงสู่กันฟังดังนี้

วิจัยในชั้นเรียน (แผ่นเดียว) ประกอบด้วย

1. ชื่อเรื่อง

2. ผู้วิจัย

3. สาเหตุของปัญหา… จากการสอน

4. วิธีดำเนินการ… เพื่อแก้ไขปัญหที่เกิดขึ้น

5.ผลที่ได้รับ… จากการใช้

วิจัยในชั้นเรียน ( 5 แผ่น) ประกอบด้วย

1. ชื่อเรื่อง

2. ผู้วิจัย

3. วัตถุประสงค์ของการวิจัย (ทำเพื่ออะไร)

4. เครื่องมือการวิจัย (มีอะไรบ้าง)

5. สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล

6. รูปแบบ / ขั้นตอน / การดำเนินการ (ทำอย่างไร)

7. ตัวอย่างแผนการสอน แบบสมบูรณ์

8. ผลที่ได้รับ / สรุปผล

วิจัยในชั้นเรียน ( 5 บท) ประกอบด้วย

บทที่ 1 บทนำ (ความเป็นมา วัตถุประสงค์ ขอบข่ายการวิจัย นิยามศัพท์เฉพาะ และสมมติฐานของการวิจัย)

บทที่ 2 เอกสารอ้างอิง / งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

บทที่ 3 วิธีดำเนินการ (ประชากร และกลุ่มตัวอย่าง แบบแผนการวิจัย เครื่องมือ การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และ สถิติที่ใช้)

บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล (การนำเสนอและแปลผลจากตาราง)

บทที่ 5 สรุป และอภิปรายผล (สรุปผลการวิจัย อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ)

ท่านผู้อ่านคงมีความรู้จากเดิมเพิ่มขึ้นบ้างแล้วนะครับ หรือยังมึนๆอยู่เหมือนเดิม ไม่เป็นไรครับลงมือทดลองทำดู ตามสุภาษิตโบราณที่ว่า สิบปากว่าไม่เท่าตาเห็น สิบตาเห็นไม่เท่าลงมือทำ.. ถ้ามีโอกาสจะนำตัวอย่างวิจัยมา Post ให้ดูนะครับ..

ผมเคยได้ยินเขาพูดว่า.. อ่านเจอคำว่าวิจัยแล้วแทบจะเปิดไปหน้าอื่น เป็นหัวเรื่องที่ไม่ชวนน่าอ่านเลย.. ! เป็นเรื่องยาก.. น่าปวดหัว.. ไม่มีวิจัยอยู่ในสายเลือดเลย.. ไม่มีความรู้ความเข้าใจเลย.. แล้วท่านผู้อ่านหล่ะครับเป็นกะเขาด้วยหรือเปล่าว.. ?  เมื่อก่อนผมก็เคยเป็น.. เคยพูด.. แต่เดี๋ยวนี้ไม่แล้ว.. เพราะ ถูกบังคับ.. !! ล้อเล่นครับ.. เพราะโตเป็นผู้ใหญ่แล้ว.. ! ตอบเช่นนี้ดูดีกว่าตั้งเยอะ..  !

วันนี้เห็นเพื่อนครูพูด.. บ่น.. ถึงเรื่องวิจัยในชั้นเรียนหนาหู ถึงแม้เรื่องวิจัยในชั้นเรียนมีผู้เขียนตำรา และจัดอบรม สัมมนามาก็มาก แต่เพื่อนครูยังไม่เข้าใจ.. ? ผมจึงอยาก post ถึงเรื่องวิจัยในชั้นเรียนบ้าง อาจเป็นเรื่องเก่าๆมาเล่าสู่กันฟังอีกสักครั้ง เพื่อเพื่อนครูจะเข้าใจ แต่คงไม่ทันสมัยเหมือน CAR1 – CAR4 นะครับ

ความหมายของวิจัยในชั้นเรียน   นักการศึกษาได้ให้ความหมายไว้ดังนี้

วิจัยในชั้นเรียน หมายถึง การศึกษากับกลุ่มตัวอย่างขนาดเล็กที่ดำเนินการโดยครูในชั้นเรียน เป็นขบวนการที่ช่วยให้ครูสะท้อนการปฏิบัติงานของตนเอง

วิจัยในชั้นเรียน หมายถึง การวิจัยที่ทำโดยครูผู้สอนในห้องเรียน เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในห้องเรียน และนำผลมาใช้ในการปรับปรุงการเรียนการสอน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับผู้เรียน

วิจัยในชั้นเรียน หมายถึง กระบวนการที่ครูศึกษา ค้นคว้าหรือแสวงหาควมรู้ที่เชื่อถือได้ในเรื่องเกี่ยวกับการพัฒนาการเรียนการสอน เพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนากระบวนการเรียนการสอนที่ครูรับผิดชอบอย่างเป็นระบบและเหมาะสม

วิจัยในชั้นเรียน หมายถึง กระบวนการแสวงหาความจริง หรือการค้นคว้าหาคำตอบอย่างมีระบบมีแบบแผน และมีจุดมุ่งหมายที่แน่นอน

สรุปใจความได้ว่างานวิจัยในชั้นเรียนนั้นเป็นงานของครูผู้สอนทุกคน โดยครูผู้สอนหาวิธีการหรือกระบวนการในการที่จะแก้ปัญหาต่างๆของผู้เรียน ลองคิดทบทวนดูก็เป็นจริงเช่นที่เขากล่าว..  ครูท่านใดที่สอนหนังสือภายในห้องเรียนแล้วไม่เจอปัญหาเลย ก็คงไม่ต้องทำวิจัยในชั้นเรียน แต่ถ้าครูพบว่า นักเรียนไม่ตั้งใจเรียน นักเรียนไม่นำวัสดุ-อุปกรณ์มาเรียน นักเรียนไม่ทำงานส่ง นักเรียนง่วงนอนขณะครูกำลังสอน นักเรียนอ่านหนังสือไม่คล่อง เป็นต้น ที่กล่าวมาทั้งหมดนี่แหละปัญหา ครูต้องแก้ไขปัญหา ถ้าครูแก้ไม่ได้ด้วยวิธีนี้ ก็เปลี่ยนวิธีโน้น  แล้วสามารถแก้ไขปัญหาได้  นั่นแหละครูได้ทำการวิจัยในชั้นเรียนแล้วครับ..?  ปัญหาที่ครูแก้ไขทุกวันๆซึ่งเป็นปัญหาง่ายๆนี่นะหรือ..? ขอตอบครับว่านี่แหละคือการวิจัยในชั้นเรียน แต่ครูไม่เขียนบันทึกร่องรอยไว้เป็นหลักฐาน มีแต่เพียงคำบอกเล่า การเขียนบันทึกต้องเขียนให้เป็นด้วยนะครับ ต้องรู้จักปรุงแต่ง การใช้ภาษา การใช้ภาพ การใช้กราฟ และอื่นๆอีก.. เพื่อความน่าเชื่อถือของผู้อ่านครับ  บานท่านอาจบอกว่าปัญหาที่พูดมาข้างต้นนั้นฉันทำมานานแล้วมีมากกว่านี้เสียอีก..  มันเป็นปัญหาง่ายๆใช่งานวิจัยในชั้นเรียนจริงหรือ..? เสียเวลาเปล่า..ถ้าคิดเช่นนี้คุณคงไม่ได้งานวิจัยในชั้นเรียนหลอกครับ ผมไม่ใช่นักวิจัยก็ขอตอบว่านี่แหละคืองานวิจัยในชั้นเรียนของครู.. เพราะงานวิจัยในชั้นเรียนทำได้หลายรูปแบบ.. จะทำวิจัยในชั้นเรียน (วิจัยแผ่นเดียว) หรือการทำวิจัยในชั้นเรียน 5 แผ่น หรือการทำวิจัยในชั้นเรียน (5 บท) ก็ได้  ทำอย่างเป็นขั้นเป็นตอน ขอเน้นย้ำทำวิจัยในชั้นเรียนนะครับ.. ถ้าหวังผลเป็นอย่างอื่น ขอ Post ในคราวหน้านะครับ..


หน้า

Blog Stats

  • 151,711 hits